วันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ยีราฟ





ยีราฟ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Giraffidae เป็นสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีลักษณะเด่น คือ เป็นสัตว์ที่ตัวสูง ขายาว ลำคอยาว มีเขา 1 คู่ ตัวมีสีเหลืองและสีน้ำตาลเข้มเป็นลาย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา ตัวผู้มีความสูง 4.8 ถึง 5.5 เมตร (16-18 ฟุต) และมีน้ำหนักถึง 900 กิโลกรัม (2,000 ปอนด์) ตัวเมียมีขนาดและความสูงน้อยกว่าเล็กน้อย จัดเป็นสัตว์บกที่มีความสูงที่สุดในโลก
ยีราฟ มีเขาทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไม่ผลัดเขา ที่เขามีขนปกคลุมอยู่ มีพฤติกรรมอาศัยอยู่รวมเป็นฝูงราว 15-20 ตัว หรือมากกว่านั้น ในทุ่งโล่งร่วมกับสัตว์กินพืชชนิดอื่น ๆ เช่น แอนทิโลป, ม้าลาย หรือนกกระจอกเทศ เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์เมื่ออายุได้ 3 ปีครึ่ง ตั้งท้องนาน 420-461 วัน ลูกยีราฟหย่านมเมื่ออายุได้ 10 เดือน เมื่อคลอดออกมาแล้วจะสามารถยืนและเดินได้ภายในเวลาไม่นานเหมือนสัตว์กีบคู่ทั่วไป และวิ่งได้ภายในเวลา 2-3 วัน ตัวเมียมีเต้านมทั้งหมด 4 เต้า 



สิงโต






แผงคอของสิงโตเพศผู้ที่โตเต็มวัยเป็นลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นของสบีชีส์นี้ ซึ่งไม่พบในสัตว์ในวงศ์เดียวกันชนิดอื่น ส่งผลให้มันแลดูมีขนาดใหญ่ขึ้น ช่วยในแสดงออกของการข่มขู่ได้ดีเยี่ยมเมื่อเผชิญหน้ากับสิงโตตัวอื่นและคู่แข่งที่สำคัญในแอฟริกา ไฮยีนาลายจุด การที่มีหรือไม่มีแผงคอ รวมถึงสีและขนาดนั้นเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขทางพันธุกรรม การเจริญเติบโต สภาพอากาศ และการสร้างเทสโทสเตอโรน มีหลักทั่วไปว่าขนแผงคอสีเข้มกว่าและใหญ่กว่าคือสิงโตที่มีสุขภาพดีกว่า การเลือกคู่ของนางสิงห์นั้นมักจะเลือกสิงโตเพศผู้ที่มีแผงคอหนาแน่นและมีสีเข้มที่สุด จากการศึกษาในประเทศแทนซาเนียยังแสดงให้เห็นว่าขนแผงคอที่ยาวเป็นสัญญาณที่บ่งบอกถึงการประสบความสำเร็จในการต่อสู้ระหว่างสิงโตเพศผู้ด้วยกันอีกด้วย แผงคอที่เข้มดำอาจบ่งบอกถึงช่วงเจริญพันธุ์ที่ยาวนานกว่าและลูกหลานที่มีโอกาสรอดชีวิตสูง แม้ว่าต้องอดอยากในเดือนที่ร้อนที่สุดของปีก็ตาม ในฝูงที่ประกอบไปด้วยสิงโตเพศผู้ 2-3 ตัว มีทางเป็นไปได้ที่นางสิงห์จะจับคู่ผสมพันธุ์กับเพศผู้ที่มีขนแผงคอใหญ่ที่สุด หนักที่สุด




ปลาโลมา



ประวัติของโลมา

 ตำนานกรีก เล่าว่า เทพแห่งไวน์ของกรีก ชื่อ ไดโอนีซอส (Dionysos) แปลงลงมาเป็นมนุษย์ และได้โดยสารเรือข้ามจากเกาะอิคาเรีย (Ikaria) ไปยังเกาะนาซอสในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนไดโอนีซอสนั้นแม้จะเป็นเทพ ทว่าไม่มีญาณหยั่งรู้ว่าเรือลำที่ตนโดยสารไปนั้นเป็นเรือโจร ลูกเรือจะปล้นผู้โดยสารทุกคนถ้วนหน้า เมื่อถึงคราวของไดโอนีซอส เขาจึงถูกลูกเรือปล้น และคิดจะจับเขาไปขายเป็นทาส ด้วยเหตุนี้ เขาจึงจำต้องแสดงตนว่าเป็นเทพ และสาปให้เรือมีเถาองุ่นขึ้นเต็ม มีเสียงขลุ่ยดังขึ้น พวกลูกเรือตกใจ จึงกระโดดน้ำหนีไปหมด และได้กลายร่างเป็นปลาโลมา มาจนกระทั่งทุกวันนี้ เมื่อกลายเป็นปลาโลมา นิสัยของลูกเรือก็เปลี่ยนไปด้วย กลายเป็นสัตว์ที่ใจดี มีเมตตา แถมยังช่วยเทพแห่งสมุทร คือ โพซิดอนหาเจ้าสาวอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ปลาโลมาจึงได้รับเกียรติจากโพซิดอน ตั้งชื่อ กลุ่มดาวกลุ่มหนึ่งว่า กลุ่มดาวโลมาอีกด้วย ที่จริงแล้วโลมาเคยเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อยู่บนบกเหมือนมนุษย์ แต่เพื่อความพยายามหาอาหาร เลี้ยงปากเลี้ยงท้อง และหนีศัตรู โลมาจึงค่อยๆปรับตัวให้ลงไปอยู่ในน้ำ เพื่อความอยู่รอดแทน นั่นเป็นตำนานของคนโบราณ แต่ในความเป็นจริงแล้ว โลมาเป็นสัตว์เลือดอุ่นอาศัยอยู่ในน้ำ คลอดลูก เป็นตัว แถมยังเลี้ยงลูกด้วยนมเหมือนมนุษย์ และยังเป็นสัตว์น้ำที่น่ารักเสียด้วย



วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เพลงที่ชอบ

บีเวอร์ (Beaver)




บีเวอร์จัดเป็นสัตว์จำพวกฟันแทะชนิดหนึ่งเช่นเดียวกับกระรอกยักษ์ พวกมันมีอยู่ด้วยกันสองสายพันธุ์ คือ พันธุ์ยูเรเชียน (Eurasian beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor fiber) กับพันธุ์อเมริกาเหนือ (North American beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์ก็คือ Castor Canadensis) ถึงแม้จะมีขนาดและรูปร่างหน้าตาที่คล้ายคลึงกัน แต่ทั้งสองสายพันธุ์แยกขาดจากกันตั้งแต่เมื่อ 24,000 ปีที่แล้ว พวกมันจึงไม่สามารถผสมพันธุ์กันเองได้อีก บีเวอร์มีขนาดตัวใหญ่กว่าที่คุณคิด โดยตัวบีเวอร์ตัวโตเต็มวัยจะมีขนาดใหญ่พอๆ กับเด็กอายุ 8 ขวบ ขณะที่ตัวบีเวอร์ยักษ์ (Giant beaver ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Castor ohioensis) ซึ่งได้สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อประมาณ 10,000 ปีก่อน 

บีเวอร์สามารถดำน้ำได้นานถึง 15 นาที ริมฝีปากซึ่งมีขนขึ้นเป็นแนวที่สามารถกั้นน้ำได้ รวมถึงหูที่สามารถปิดและโพรงจมูกที่สามารถเปิด ซึ่งช่วยให้พวกมันแทะใต้น้ำได้ ฟันหน้าสี่ซี่ของบีเวอร์มีสีส้มสุกสว่าง เคลือบฟันของมันมีธาตุเหล็กเพื่อเสริมความแข็งแรงและฟันของมันไม่เคยหยุดเจริญเติบโต เป็นสิ่งมีชีวิตที่ขึ้นชื่อว่า “ไม่เคยอยู่เฉย” แต่พวกมันก็ค่อนข้างขี้เกียจ ในช่วงฤดูหนาว

ในปี 1760 วิทยาลัยการแพทย์และคณะเทวศึกษาในกรุงปารีสได้จัดให้บีเวอร์เป็นปลาชนิดหนึ่ง เนื่องจากหางที่เป็นเกล็ดของมัน นั่นหมายความว่า ชาวฝรั่งเศสที่ตั้งรกรากในทวีปอเมริกาเหนือสามารถทานเนื้อบีเวอร์ได้อย่างเป็นทางการในเทศกาลมหาพรตหรือเทศกาลถือศีลอดอื่นๆ ทั้งนี้เชื่อว่า หางของบีเวอร์มีรสชาติคล้ายกับเนื้อวัวย่าง


ครั้งหนึ่งคนมองว่า บีเวอร์เปรียบเสมือนตู้ยาเคลื่อนที่ นับจากยุคกรีกโบราณเป็นต้นมา สารคัดหลั่งจากต่อมสองต่อมที่อยุ่ใกล้กระเพาะปัสสาวะของมัน ซึ่งมีชื่อว่า คาสโตเรียน (castoreum) ถูกนำมาใช้เป็นตัวยาที่มีสรรพคุณในการรักษาอาการปวดหัว เป็นไข้ ลมบ้าหมู รวมทั้งใช้เป็นยาระบายด้วย ชนเผ่าซามีในแลปแลนด์ผสมสารคัดหลั่งของมันเข้ากับยานัตถุ์ ปัจจุบัน สารตัวนี้ใช้เพื่อทำน้ำหอมเท่านั้น น้ำหอมชาลิมาร์ของเกอร์แลงกับน้ำหอม แม็กกี นอร์ ของลังโคม ต่างก็มีส่วนผสมของสารคัดหลั่งจากบีเวอร์ที่ทำการสังเคราะห์แล้ว
โชคร้ายเหลือเกินที่มูลค่าของสารคาสโตเรียมและข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเสียงอ่านที่คล้ายกับคำว่า “castrate (แปลว่า ตอน)” เหมือนจะยิ่งเพิ่มความเชื่อให้กับตำนานที่เล่าขานโดยอีสป ผู้เฒ่าไพลนี (Pliny the Eider) และคนอื่นๆ ว่า บีเวอร์ที่ถูกล่าจะกัดอัณฑะของตัวเองทิ้งเพื่อหลบหนี
ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่ถึงอย่างไร บีเวอร์ก็ถูกล่าอยู่ดี ที่ประเทศแคนาดา ในช่วงศตวรรษที่ 17 หนังของมันเป็นสกุลเงินที่เรียกว่า “เมดบีเวอร์” หรือย่อว่า “เอ็มบี” ปืนหนึ่งกระบอกในสมัยนั้นมีค่าเท่ากับ 132 เอ็มบี เวลาเดียวกันนั้นในประเทศอังกฤษ คำว่า “บีเวอร์” มีความหมายว่า “หมวก” ในปี 1628 พระเจ้าชาลล์ที่ 1 ทรงประกาศว่า “ไม่มีสิ่งใดที่ควรนำมาทำเป็นหมวก นอกจากหนังหรือขนของบีเวอร์” หมวกที่ทำจากบีเวอร์จะไม่ใช่แบบที่มีขนนุ่มๆ เพราะขนของบีเวอร์จะถูกนำมาบด บีบ และ อบให้ร้อนเพื่อทำให้เป็นผ้าสักหลาดกันน้ำ